เงินบาท 33.84/86 แข็งค่าเล็กน้อย นลท.จับตาผลเลือกตั้งสหรัฐ-ประชุมเฟดสัปดาห์นี้
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.84/86 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.90 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเช้านี้เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า เนื่องจากวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 พ.ย.) ตัว เลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวขึ้นต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมา แต่ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และถือว่าน้อยที่สุดตั้งแต่เดือนธ.ค. 63 ปัจจัยจากพายุเฮอร์ริเคน และการประท้วงหยุดงานของโบอิ้ง ซึ่งทำให้ PMI ลดลงเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานยังคงที่ สะท้อน ว่าตลาดยังคงแข็งแกร่งอยู่
นอกจากนี้ ตลาดรอจับตาการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ซึ่งถ้านายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง จากนโยบาย ต่าง ๆ ของทรัมป์ ก็จะส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าได้ ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์นี้ยังต้องรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 6-7 พ.ย. นี้ ซึ่งตลาดให้น้ำหนักถึง 99% ว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมรอบนี้
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.70 – 34.00 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 151.81/82 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 152.72 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0886/0887 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0860 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.870 บาท/ดอลลาร์
- กระทรวงการคลัง ชงนายกฯ ลุยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสิ้นปี พร้อมแพคเกจของขวัญปีใหม่ เล็งเสนอครม. จัด
ซอฟต์โลน 5.5 หมื่นล้านฟื้นตลาดอสังหาฯ ลุ้นวันนี้คัดประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
- “เอกชน” เตือนเลือกตั้งสหรัฐ แนะธุรกิจปรับโฟกัสเศรษฐกิจโลกใหม่ ห่วงทรัมป์ซ้ำเติมปมสงครามการค้า แนะไทย ระวัง
รับบทตัวแทนทุนจีนตกที่นั่งคู่ขัดแย้ง หน้าใหม่ชี้รักษาสมดุลสหรัฐ-จีน “แบงก์ชาติ-นักเศรษฐศาสตร์” ประสานเสียง “ทรัมป์” มาโลกป่วน
ส่วนแฮร์ริส เชื่อไม่เปลี่ยนมาก
- เอ็กซิมแบงก์ เตือนผู้ส่งออกเกาะติดผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ-ความขัดแย้งระหว่างประเทศเพราะไม่ใช่
เรื่องไกลตัว จะเพิกเฉยอีกต่อไปไม่ได้เพราะทำให้ค่าเงินบาทผันผวน ค่าระวางเรือเพิ่มสูงสุด ทุกฝ่ายต้องปรับตัวเข้ากับ
ความขัดแย้งความไม่แน่นอนต่าง ๆ ให้ได้
- รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของไทยกับประเทศต่างๆ ว่า เอฟทีเอที่คาด
จะเจรจาสำเร็จภายในปีนี้คือเอฟทีเอไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (เอฟตา) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์
แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ ซึ่งล่าสุดเจรจาประเด็นใหญ่ๆ เสร็จหมดแล้ว เหลือรายละเอียดอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คาด
ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะลงนามความตกลงร่วมกันได้ในช่วงการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงเดือน
ม.ค.68 โดยนายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมด้วย
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 12,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ซึ่ง
เป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 100,000 ตำแหน่ง
หลังจากเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย.
- ตลาดยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในเดือนนี้ หลังการเปิดเผย
ข้อมูลการจ้างงานที่ซบเซา บรรดาเทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาส 99% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 4.5%-4.75% ใน
การประชุมวันที่ 6-7 พ.ย.นี้
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 1.2% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ
4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. รวมทั้งให้น้ำหนัก 98.8% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
- นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งเป็นการแข่งขันที่สูสีกันระหว่าง คา
มาลา แฮร์ริส และโดนัลด์ ทรัมป์
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ย. ดัชนี PMI/ISM ภาคบริการเดือนต.ค.
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสำหรับเดือนพ.ย.
- นักลงทุนยังจับตาการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ในวันที่ 4-8 พ.ย.นี้ ท่ามกลาง
ความหวังที่ว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ที่มา – โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/รัชดา คงขุนเทียน